| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 101 ท่าน 
FreeSplanS MENU
C a l c u l a t o r . . .

Link to us!!!
Link to US!!!


Construction Materials...
  
 | Comment |




บ้านเดี่ยว : ภาคกลางโดย มหาวิทยาลัยศิลปากร บ้าน_เก้าห้อง
ดู 245













แนวความคิดในการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุ

Vermicular House

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รูปแบบที่ตอบรับกับระบบนิเวศดั้งเดิม ผังที่ตอบรับกับวิถีชีวิต เป็นแม่แบบการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติแวดล้อม อยู่ร่วมกันระหว่างบ้านกับบ้าน จุดเปลี่ยนคือ บ้านไทยมีข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต ได้แก่ คุณภาพเสียง ทัศนวิสัย การปรับสายตา การป้องกันมลภาวะ และการควบคุมอุณหภูมิภายใน ความปลอดภัย ฯลฯ

First Idea (The Double Skin Protection)
เรานำเสนอแนวคิดที่หนึ่ง การสร้างผิวป้องกัน 2 ชั้น (Double Skin Protection) คือ การสร้างผิวอีกผิวหนึ่งจากผิวของมวลอาคาร หรือห้องต่างๆ ที่ใช้งาน เพื่อให้ผิวใหม่นี้เป็นผิวที่ใช้เป็นเสมือนฉนวน โดยใช้วัสดุทั่วไปตามท้องตลาดได้ทั้งหมด (ไม่ต้องนำเข้า) อีกทั้งผิวนี้ยังทำหน้าที่ดักลม และปรับทิศทางลมตามช่วงเวลาในรอบปีที่เหมาะสมได้อีกด้วย ส่วนแนวความคิดที่สองคือ การสร้างโพรงอากาศให้เกิดขึ้นในมวล เพื่อให้เกิดการระบายอากาศผ่านมวลของบ้านได้ตลอดเวลา แบ่งปันสภาพแวดล้อมไปสู่เพื่อนบ้าน และหมู่บ้านอื่นๆ อีก ความว่างนี้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

Zoning
แนวความคิดที่สาม คือ การวาง Zoning ให้เกิดส่วนปกป้อง (Buffer Zone) ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ชั้นต่างๆ ตู้เสื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้งานน้อย อยู่นอกสุดด้านทิศตะวันตกและตะวันออก ส่วนห้องนอนใหญ่ใช้ระบบปรับอากาศให้อยู่ในส่วนทิศเหนือ อยู่ท้ายลมเพื่อไม่ให้มวลที่ปิดทึบมาบังมวลที่ต้องการลม ห้องนอนเล็กอยู่ทิศใต้เพื่อรับลมให้มากที่สุด แต่ต้องมีการป้องกันเรืองแสงแดดและฝนเป็นพิเศษ ที่จอดรถและครัวอยู่ด้านทิศตะวันออกถึงออกเฉียงใต้เพื่อไม่ให้ลมร้อนและ ละอองน้ำมันพัดเข้าบ้าน รับแขกและอาหารวางตามยาวทะลุต่อเนื่องยาว 9 เมตร เป็นส่วนที่เย็นที่สุดในตอนกลางวันเพราะได้รับการปกป้องทุกด้านและได้รับลม ดีเสมอ

Cross Ventilation
เราออกแบบให้ห้องทุกห้องได้รับลมในทุกทิศทาง โดยใช้ระนาบผนัง ตู้ แผงกันแดดทางตั้งทั้งหมด ถูกใช้ประโยชน์สองทางเสมอ

Cluster House
รูปแบบหมู่บ้านและการอยู่ร่วมกัน เราตระหนักถึงความสำคัญของการถ่ายเทสภาพแวดล้อมในระดับหมู่บ้านเพื่อก่อให้ เกิด Cross ventilation ระดับผังตลอดเวลา แม้ว่าทุกบ้านจะปิดประตูและหน้าต่างทั้งหมด บ้านก็ยังมีโพรงอากาศขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้เราเสนอแนวคิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้าน (ผังพื้นชั้นหนึ่ง) เพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยอื่นที่จำเป็นในองค์ประกอบหมู่บ้าน เช่น ร้านค้า ร้านเสริมสวย ร้านอาหาร ได้อีก เพื่อให้หมู่บ้านสมบูรณ์ในตัวเอง ช่วยลดการเดินทางด้วยรถยนต์ ลดการใช้น้ำมันอีกด้วย

ความคิดเห็นของคณะกรรมการฯ ในรอบประกวดแบบ
มีความเป็นไปได้ในการก่อสร้างจริง และอาจจะเป็นอาคารประหยัดพลังงานตามที่ผู้ออกแบบเสนอไว้ มีระบบป้องกันความร้อนและการจัดวางอาคารที่น่าจะมีประสิทธิภาพ แต่อาจจะมีองค์ประกอบมากไป ซึ่งอาจทำให้ดูแลรักษายาก และใช้งบประมาณมาก

โดยรวมเป็นบ้านที่น่าอยู่ และมีศักยภาพในการให้สภาวะสบายสูงจากการแยกมวล การเปิดโล่งบางส่วน และการเปิดหน้าต่างให้ลมผ่านได้ทุกห้อง









รายละเอียดบ้าน
บ้านพักอาศัย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คัน บนที่ดินขนาด 50 ตารางวา
พื้นที่ใช้สอยรวม 163.95 ตารางเมตร
พื้นที่ใช้สอยภายใน 106.35 ตารางเมตร
พื้นที่ใช้สอยภายนอก 57.60 ตารางเมตร
ระบบโครงสร้าง เสา-คาน คอนกรีตเสริมเหล็ก
ระบบโครงหลังคา โครงหลังคาเหล็ก ลาดเอียง 45 องศา

2. รายละเอียดวัสดุ


พื้นที่ผนังทึบและส่วนโปร่งแสง (ตารางเมตร)


ระบบปรับอากาศ และปริมาณไฟฟ้าแสงสว่าง



สำหรับผู้สนใจชม “บ้านตัวอย่าง” สามารถติดต่อได้ที่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 102000
โทรศัพท์ 02 221 5877 โทรสาร 02 221 8837








ออกแบบโดย :

* ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ จ.เชียงใหม่
* ระดับปริญญาตรี คอ.บ.ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
* ระดับปริญญาโท กำลังศึกษาในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์พื้นถิ่นศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร



  29/1/2015




 Comment

Name *
Email *
ข้อความ *

 



 
Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.